เทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นอย่างไร

เทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นอย่างไร

ช่วงนี้ใครดูโฆษณาจะเห็นว่า ตอนนี้มีขนมชนิดหนึ่งออกมาขายกันเยอะแล้ว นั่นก็คือ ขนมไหว้พระจันทร์ นั่นเป็นการแสดงให้เรารู้ว่าตอนนี้เทศกาลสำคัญอีกหนึ่งอย่างของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนได้เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่งแล้ว นั่นก็คือ เทศกาลไหว้พระจันทร์  เทศกาลนี้มีความเป็นมาอย่างไร เค้าทำอะไรบ้าง เราจะมาเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง วันไหว้พระจันทร์ เทศกาลวันไหว้พระจันทร์ถือว่าเป็นเทศกาลที่น่าสนใจมาก นอกจากขนมไหว้พระจันทร์แล้ว เบื้องหลังของเทศกาลนี้ยังมีเรื่องเล่าน่าสนใจสนุกๆ เยอะแยะเลย เทศกาลนี้หากยึดตามวัฒนธรรมจีนจะบอกว่า ต้องจัดขึ้นช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง ช่วงคืนวันเพ็ญเดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ แต่ละปีอาจจะไม่ตรงวันกันเป๊ะแต่ก็ไม่แตกต่างกันมาก พิธีนี้ชาวจีนจะเฉลิมฉลองด้วยการไหว้ดวงจันทร์ในเวลากลางคืน พร้อมกับตกแต่งบ้านเรือนให้สวยงาม อาจจะมีการแสดงเพื่อเรียกโชค เรียกทรัพย์ เรียกความเป็นสิริมงคลให้กับตัวเองและครอบครัวด้วย เทศกาลไหว้พระจันทร์นั้นไม่ได้จัดแต่ในจีนอย่างเดียว ที่ฮ่องกง, ไต้หวัน, สิงคโปร์ หรือเวียดนามเองก็มีจัดงานนี้ด้วยเหมือนกัน ประวัติตามพระราชสำนัก ประวัติของเทศกาลวันไหว้พระจันทร์นั้นมีหลายอย่าง แต่วันนี้เราจะนำเสนอสามหัวข้อที่เชื่อกันว่าใกล้เคียงที่สุดอย่างแรก เทศกาลนี้เป็นเทศกาลของพระราชสำนักเป็นพิธีกรรมที่สำคัญของจีนโบราณที่ทำขึ้นเพื่อบวงสรวงสักการะฟ้าดิน ในที่นี้หมายถึง การบูชาไท้อิมแชกุน (พระจันทร์เทวี) สิ่งนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสักการะฟ้า ดิน  Read more

เทศกาลพิธีไหว้บ๊ะจ่างเป็นอย่างไร

เทศกาลพิธีไหว้บ๊ะจ่างเป็นอย่างไร

เทศกาลของพี่น้องชาวจีนทั้งจีนแท้ หรือ ชาวไทยเชื้อสายจีน ต้องยอมรับเลยว่า เรื่องอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หลายเทศกาลจะมีเรื่องของวัฒนธรรมอาหารเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ อย่างเทศกาลพิธีไหว้บ๊ะจ่าง ก็เป็นอีกหนึ่งพิธีกรรมที่สำคัญและมีเอกลักษณ์ของตัวเองอย่างมาก ผู้เขียนเองก็ชอบนะเทศกาลนี้ เลยมาขอย้อนวัยกันสักหน่อยว่าเทศกาลนี้เป็นอย่างไร เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง เรามาทำความรู้จักกันก่อน เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง มีอีกชื่อหนึ่งว่า เทศกาลตวนอู่ หรือ เทศกาลต่วนหงอ ตามปฏิทินทางจันทรคติดจะตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 เรียกว่าวันโหงวเหว่ยโจ่ว เชื่อกันว่าเทศกาลครั้งนี้จะจัดขึ้นเพื่อระลึกถึงกวีผู้รักชาติคนหนึ่งกระโดดน้ำเสียชีวิตไป บางประเทศอย่างจีน, ฮ่องกง, ไต้หวัน, มาเก๊า ยังมีการจัดกิจกรรมสนุกสนานอื่นอย่างการแข่งเรือมังกร (คล้ายกับการแข่งเรือพายของบ้านเรา)อีกด้วย ประวัติของเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง ประวัติของทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง ต้องย้อนกลับไปสมัยเลียดก๊กเลยทีเดียว ยุคนั้นมีกวี ผู้มีความรอบรู้คนหนึ่งชื่อว่า ซีหยวน ท่านคนนี้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ทั้งยังเป็นขุนนางตงฉินที่มีความสามารถในการบริหารงานด้านการปกครองด้วย ทำให้กษัตริย์ที่ครองแคว้นฉู่โปรดมาก นั่นทำให้ ซีหยวนเองได้สร้างความไม่พอใจ Read more

เทศกาลของคนจีนตรุษจีนในประเทศไทย

เทศกาลของคนจีนตรุษจีนในประเทศไทย

ประเทศไทยเราต้องยอมรับเลยว่าเป็นบ้านอีกแห่งหนึ่งของคนเชื้อสายจีน ไม่ว่าจะเป็นแบบจีนโพ้นทะเลที่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาตั้งรกรากแบบเสื่อผืนหมอนใบ หรือ คนจีนรุ่นที่สอง สาม สี่ ก็มีด้วย คนจีนนั้นมีจุดเด่นอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของเทศกาลประเพณีมากมาย หนึ่งในวันสำคัญของชาวจีนทุกคนก็คือ เทศกาลตรุษจีน เทศกาลตรุษจีนคืออะไร เรามาที่เรื่องแรกก่อนเลย หากเราไม่ได้เป็นคนไทยเชื้อสายจีน อาจจะนึกภาพไม่ออกว่าเทศกาลดังกล่าวคืออะไร คำตอบก็คือ มันเป็นเทศกาลสำหรับการเฉลิมฉลอง สร้างความสุขให้กับตัวเอง บางคนให้ความหมายว่านี่เป็นการเฉลิมฉลองวันปีใหม่ของจีน ก็ได้ด้วยเหมือนกัน งานนี้จะเกิดขึ้นบนความสนุกสนานของทุกคนในครอบครัวมีการรับประทานอาหารร่วมกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว 3 วันทำอะไรกันบ้าง หากเรานับตามประเพณีปฏิบัติ เทศกาลวันตรุษจีนนั้นจะมีทั้งหมด 3 วันด้วยกัน แต่ละวันมีความหมายแตกต่างกันไปตามนี้ วันแรกคือวันจ่าย วันนี้จะเป็นวันก่อนวันสิ้นปี วันนี้ก็ตามชื่อเลยทุกคนจะออกไปตลาดเพื่อจับจ่ายใช้สอยซื้ออาหาร ผลไม้ เครื่องเซ่นไหว้ต่อบรรพบุรุษ แถมยังต้องตุนเสบียงเอาไว้เพื่อรองรับวันหยุดยาวทีร้านรวงปิดเหมือนกัน วันที่สองจะเรียกว่าวันไหว้ ประเพณีนี้ตามพิธีการก็คือ เราจะทำการบวงสรวงไหว้เทพเจ้า บรรพบุรุษของตัวเอง พร้อมระลึกถึงคุณงามความดีของเค้าเหล่านั้น การไหว้จะเรียงลำดับดังนี้ เช้ามืดไหว้ Read more

เทศกาลของคนจีนเช็งเม้งมีความเป็นมาอย่างไร

เทศกาลของคนจีนเช็งเม้งมีความเป็นมาอย่างไร

เทศกาลของคนจีนต้องบอกว่ามีเยอะแยะมากมาย แต่ละเรื่องก็มีรายละเอียดแตกต่างกันไป รวมถึงแนวความคิดของประเพณีนั้นด้วย ทางที่ดีเราควรทำความเข้าใจสักหน่อย เผื่อว่ามีโอกาสได้เข้าไปอยู่ในครอบครัวของคนจีนจะได้ปรับตัวได้ทัน วันนี้เราขอนำเสนอเทศกาลเช็งเม้ง เทศกาลนี้คืออะไรมีความหมายถึงอะไรบ้าง เทศกาลเช็งเม้งคืออะไร เทศกาลนี้หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆก็คือ การไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วของชาวจีน ซึ่งการไปไหว้นั่นอาจจะไหว้ที่บ้าน(บางคนเก็บอัฐิไว้ที่บ้าน) หรือ อาจจะไปไหว้บรรพบุรุษที่สุสานก็ได้ โดยคำว่า เช็งเม้งนั้น มาจากคำว่า ชิงหมิง หรือ เชงเม้ง (ในบางสำเนียง) ความหมายของคำนี้แยกเป็นสองส่วน คำว่าเช็ง หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ ส่วนคำว่า เม้ง หมายถึงสว่าง พออ่านรวมกันแล้วหมายถึงช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์ ช่วงเวลาไหว้เช็งเม้ง เทศกาลเช็งเม้งเป็นเทศกาลที่สำคัญมากทั้งของชาวจีนเอง หรือ คนไทยเชื้อสายจีนในบ้านเรา หากเป็นที่ประเทศจีนช่วงเวลาการไหว้เช็งเม้งจะประมาณวันที่ 5 ถึงปลายเดือนเมษายน ที่เลือกช่วงเวลานี้เป็นเพราะว่า จีนตอนนั้นเป็นฤดูใบไม้ผลิ อากาศดี Read more

เทศกาลกินเจของชาวไทยเชื้อสายจีน

เทศกาลกินเจของชาวไทยเชื้อสายจีน

เทศกาลของไทยกับของจีนนั้นต้องถือว่าใกล้เคียงกันตลอด บางอย่างผสมผสานกับวัฒนธรรมของไทยจนคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งไปแล้วด้วยซ้ำ อย่างเทศกาลกินเจนี่ต้องบอกเลยว่า บ้านเราก็ให้ความสำคัญไม่แพ้ใครด้วยเหมือนกัน หลายคนอาจจะแค่เคยเห็นธงสีเหลืองผ่านตา เรามาดูกันว่าเทศกาลนี้มีความสำคัญอย่างไรบ้าง เทศกาลกินเจ คืออะไร เทศกาลกินเจ หรือ บางสำเนียงจะเรียกว่าเทศกาลกินแจ เป็นเทศกาลตามประเพณีความเชื่อลัทธิเต๋า เป็นการจัดเทศกาลรวม 9 วัน ซึ่งการจัดเทศกาลจะตามปฏิทินจันทรคติโดยเริ่มต้นจากวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 เทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่ได้รับความนิยมไปในหลายประเทศ ส่วนบ้านเราเชื่อกันว่าวัฒนธรรมนี้เข้ามาตั้งแต่ยุคอาณาจักรอยุธยาโน่นเลย อาหารเจ เทศกาลกินเจ ขาดไม่ได้เลยก็คือ อาหารเจ  ซึ่งความหมายของอาหารเจก็คือ อาหารที่ถูกปรุงขึ้นมาโดยไม่มีเนื้อสัตว์ หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์เลย ( นม, ไข่,น้ำผึ้ง, น้ำปลา ของเหล่านี้ก็นับว่าเป็นของที่ห้ามกินในอาหารเจด้วย) สองต้องไม่มีผักที่ปรุงด้วยผักรสฉุนอย่าง Read more

อีกหนึ่งวันสำคัญ

ประวัติวันโคนมแห่งชาติคนไทยต้องรู้

วันที่ 17 มกราคม เป็น ‘วันโคนมแห่งชาติ’ จัดเป็นวันที่มีความสำคัญต่ออาชีพ ผู้เลี้ยงโคนมในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งมีการกำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญ รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ท่านทรงพระราชทานอาชีพเลี้ยงโคนมให้แก่เกษตรกรทั้งหลาย จนกระทั่งทำให้ประชาชนชาวไทยมีนมสดๆ ดื่มกินจนถึงทุกวันนี้ สำหรับวันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับความเป็นมาของอาชีพการเลี้ยงโคนม ว่ามีความสำคัญอย่างไรบ้าง… ประวัติความเป็นมาของวันโคนมแห่งชาติ ย้อนไปในปี พ.ศ. 2503 ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จฯ ประพาสทวีปยุโรป และทรงประทับแรมที่ประเทศเดนมาร์ก ท่านแสดงให้เห็นถึงความทรงสนพระราชหฤทัย ในกิจการฟาร์มโคนมของชาวเดนมาร์กเป็นอย่างมาก ท่านทรงเล็งเห็นว่าอาชีพการเลี้ยงโคนม น่าจะเกิดประโยชน์ทั้งต่อเกษตรกร รวมทั้งประเทศไทย หลังจากท่านเสด็จนิวัติประเทศไทย รัฐบาลเดนมาร์กก็ได้ถวายโครงการนี้ ให้เป็นของขวัญแด่ทั้ง 2 พระองค์ พร้อมดำเนินโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองต่อไป Read more

ที่มาที่ไปของเทศกาลถือศีลกินผัก (กินเจ) จังหวัดภูเก็ต

ที่มาที่ไปของเทศกาลถือศีลกินผัก (กินเจ) จังหวัดภูเก็ต

ประเพณีกินผัก เป็นประเพณีที่ชาวบ้านในจังหวัดภูเก็ตเรียกกันว่า ‘เจี๊ยะฉ่าย’ มาจากลัทธิเต๋า ซึ่งนับถือบูชาเทพเจ้า ซึ่งเป็นประเพณีที่คนจีนนับถือกันมาอย่างช้านาน วันประกอบพิธีตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ ตามปฏิทินจีนของทุกๆปี ‘เจี๊ยะฉ่าย’ เกิดขึ้นได้อย่างไร ‘เจี๊ยะฉ่าย’ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ หมู่บ้านไล่ ซึ่งอยู่ในตำบลกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ณ ปัจจุบัน ชาวจีนเหล่านั้นได้อพยพเข้ามาทำเหมืองแร่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยชาวจีนเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีแร่ดีบุกหนาแน่นจนมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วโลก และคนจีนในสมัยนั้น มีความเชื่อเรื่องเทพเจ้าประจำตระกูล เช่น เทพยดาฟ้าดิน หรือเซียนต่างๆ เมื่อเกิดเหตุเภทภัยอันใดขึ้นจึงได้มีการอัญเชิญเทพเจ้าให้มาคุ้มครองปกป้อง และความเชื่อนี้ก็ยังคงยืนหนักมาจนถึงทุกวันนี้ ต่อมาได้มีคณะงิ้ว เดินทางมาจากประเทศจีนมาเปิดแสดง ณ บ้านในทู โดยคณะงิ้วนี้ได้แสดงอยู่ตลอดทั้งปี เพราะเศรษฐกิจของชาวในทู มีรายได้ดีมาก Read more

ชมความสวยงามเทศกาลแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี

ชมความสวยงามเทศกาลแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี

หนึ่งในงานประเพณีน่าสนใจ อันเป็นส่วนผสมผสานระหว่างศิลปวัฒนธรรม ซึ่งรวมเข้ากับความเชื่อของท้องถิ่นและศาสนาได้อย่างกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ภายในจังหวัดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นตำรับของ ‘งานประเพณีแห่เทียนพรรษา’ จ.อุบลราชธานี งานนี้มีความสำคัญนอกเหนือไปจากความสวยงามแล้ว ยังมีความข้องเกี่ยวกับวันสำคัญทางศาสนา 2 วัน ได้แก่ วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา อีกด้วย ต้นเทียนขนาดยักษ์ เปล่งสีทองแสดงให้เห็นถึงความงามสง่า ณ กลางทุ่งศรีเมือง วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 ทางจันทรคติ โดยพุทธศาสนิกชนได้จัดงานบูชาขึ้นเพื่อ รำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญทางศาสนาในอดีตกาลยาวนาน โดยเป็นวันคล้ายกับวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงปฐมเทศนา ‘ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร’ และเป็นวันที่เกิดอริยสงฆ์ครั้งแรก ได้แก่ ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ส่วนวันเข้าพรรษา ก็เป็นอีกหนึ่งวันที่มีความสำคัญ ที่มีความเกี่ยวข้องกับประเพณีแห่เทียนพรรษา ซึ่งตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี โดยวันเข้าพรรษา Read more

Loi Krathong Day

เล่าประวัติวันลอยกระทงคนไทยต้องรู้

ประเพณีลอยกระทง จัดเป็นหนึ่งในประเพณีที่มีน่าสนใจของประเทศไทย จัดขึ้นตามปฏิทินทางจันทรคติ ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี โดยมีความเชื่อที่แฝงมากับการทำพิธีกรรมนี้ว่า เป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้นำน้ำไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการ ชำระล้างร่างกาย , ดื่มกิน รวมถึงการทิ้งของเสียต่างๆ ลงไปในแหล่งน้ำ อีกทั้งยังมีความเชื่อพ่วงมาอีกด้วยว่า เป็นการลอยความทุกข์ , ความโศกเศร้าเสียใจต่างๆ ให้ลอยหายไปกับแม่น้ำอีกด้วย เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย ถ้าย้อนถามไปถึงประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทงแล้วละก็… ในประเทศไทยไม่มีหลักฐานปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ เพียงแต่มีเรื่องเล่าขานกันมาว่า ลอยกระทง เป็นประเพณีโบราณซึ่งผู้คนปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หากแต่ในสมัยโบราณผู้คนได้เรียกประเพณีลอยกระทงว่า ‘พิธีจองเปรียง’ อีกทั้งยังมีหลักฐานอ้างอิงจากศิลาจารึกหลักที่ 1 อีกด้วย โดยกล่าวว่า งานประเพณีนี้เป็นงานรื่นเริงขนาดใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย จึงทำให้มีการวิเคราะห์กันว่า งานนี้น่าจะเป็น ‘งานลอยกระทง’ Read more

new year

สืบประวัติต้นกำเนิดปีใหม่ของไทยเริ่มครั้งแรกที่ไหนเมื่อไร

สำหรับ ‘วันขึ้นปีใหม่’ ของประเทศไทย ในสมัยโบราณได้ยึดถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้ายซึ่งตรงกับเดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปกับความเชื่อคติแห่งพระพุทธศาสนา โดยถือเอาช่วงฤดูหนาว เป็นการเริ่มต้นปี หากแต่ในกาลเวลาต่อมา ก็ได้เปลี่ยนไปตามความเชื่อของพราหมณ์ โดยถือว่า วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ โดยตรงกับวันสงกรานต์ ด้วยเหตุนี้ในสมัยโบราณประชาชนชาวไทย จึงยึดหลักว่าวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย หากแต่การนับวันปีใหม่ของไทย เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับวันทางสุริยคติ แน่นอนว่าในแต่ละปีย่อมไม่ตรงกันไปบ้าง เพราะฉะนั้น ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปี ร.ศ. 108 ที่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะฉะนั้นจึงถือว่าวันที่ Read more