การละเล่นผีตาโขนเป็นการละเล่นที่คนไทยทั่วไปคุ้นเคยกันอย่างดีนี่ถือเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีบุญหลวงหรือที่เรียกกันว่า งานบุญหลวง ขณะที่ชาวบ้านในละแวกนั้นอาจเรียกว่า บุญผะเหวด ตรงกับช่วงเวลาเดือน 7 จัดขึ้นที่ อ.ด่านซ้าย จ.เลย เป็นการละเล่นที่จัดขึ้นประจำทุกๆ ปี มีความเกี่ยวโยงกับ งานบุญพระเวสหรืองานเทศน์มหาชาติประจำปีกับพระธาตุศรีสองรัก ซึ่งถือว่าเป็นปูชนียวัตถุที่ชาวบ้าน อ.ด่านซ้ายให้ความศรัทธาอย่างมาก
ร่วมงานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน เมืองเลย
งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ปกติแล้วจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมิถุนายนไม่ก็ต้นเดือนกรกฎาคมในทุกๆ ปี ประกอบไปด้วย 10 ตำบล 97 หมู่บ้าน ภายในขบวนดังกล่าวจะมีผีตาโขนมากกว่า 1,000 – 1,500 ตัวร่วมเดินด้วย งานประเพณีบุญหลวงจะจัดขึ้นที่วัดโพนชัย และบริเวณที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย จ.เลย ว่ากันว่าการแห่ผีตาโขนที่เราเห็นกันเป็นประจำทุกปีนี้เกิดขึ้นครั้งแรกตอนที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะทำการเดินทางออกจากป่าเข้ามายังเมือง เหล่าบรรดาผีทั้งหลายและสัตว์อีกมากมายต่างก็อาลัยรักอย่างมากจึงแห่แหนแฝงตัวมากับบรรดาชาวบ้านเพื่อส่งทั้งสองพระองค์กลับมายังเมือง คำว่า “ผีตามคน” เพี้ยนมาเป็น “ผีตาขน” จนปัจจุบันนี้ก็เรียกกันว่า “ผีตาโขน” นั่นเอง ด้านการแต่งกายของผู้ที่เป็นผีตาโขนจะต้องแต่งกายลักษณะคล้ายคลึงกับผีหรือไม่ก็ปีศาจที่ใส่หน้ากากขนาดใหญ่ที่ทำจากกาบมะพร้าวพร้อมแกะสลัก สวมเอาไว้บนศีรษะ
ชนิดของผีตาโขน
สำหรับผีตาโขนที่เราเห็นในขบวนแห่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ประกอบไปด้วย
- ผีตาโขนใหญ่ จะถูกทำจากไม้ไผ่สานที่มีขนาดใหญ่กว่าคนปกติราว 2 เท่า เป็นหุ่นรูปผีประดับตกแต่งตามความต้องการของแต่ละคน
- ผีตาโขนเล็ก ส่วนมากจะเป็นการละเล่นของบรรดาเด็กๆ ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรือเด็กโตก็ตามแต่ทั้งนี้ก็ยังมีวัยรุ่นและผู้ใหญ่มาเล่นด้วย ผู้ชายผู้หญิงก็มีสิทธิ์แต่งเพื่อเข้าร่วมขบวนได้ทั้งสิ้นอย่างไรก็ตามส่วนมากผู้หญิงมักจะไม่ค่อยเข้าเล่นเท่าไหร่นักเนื่องจากการละเล่นดังกล่าวจะค่อนข้างผาดโผนและดูซุกซนไม่ค่อยเหมาะกับหญิงสาว
สำหรับใครที่นิยมชมชอบอยากมาองเที่ยวงานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขนก็สามารถเดินทางมาได้ในแต่ละปีก็จะมีการประกาศแจ้งวันเวลาเอาไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว ถือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาอย่างยาวนานและยังคงสืบทอดต่อไปอีกนานแสนนานกับงานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน