ประเพณีบั้งไฟเป็นอะไรที่น่าสนใจไม่แพ้กับการลอยโคม และประเพณีอื่น ๆ ของไทย แต่ถ้าจะไปชมแบบของแท้ต้องไปที่งานบุญบั้งไฟของเมืองยโสธรเท่านั้น โดยในปีนี้จะจัดขึ้นในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ในงานจะมีการนำบั้งไฟของทั้ง 9 อำเภอมาร่วมแข่งขันกันภายในงาน เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเป็นศิลปะแบบไทยที่สืบทอดจากวัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้ยังมีบั้งโฟโบราณมาจัดแสดงให้นักท่องเที่ยวได้มาถ่ายรูปกันเก็บไว้เป็นที่ระรึก ตลอดจนการแสดง แสง สี เสียงต่าง ๆ โดยในงานนี้ผู้ชนะจะได้รางวัลกว่า 50,000 บาท พร้อมกับถ้วยพระราชทานจาก ร.10
แต่เดิมนั้นประเพณีบั้งไฟสืบทอดมาจากคนในสมัยโบราณ เป็นที่นิยมกันในแถบอีสานบ้านเรามักจะจัดพร้อมกับงานบุญ เพื่อบูชาพญาแถนที่คอยดูแลให้ฝนตกตามฤดู แต่ด้วยพญาแถนมีความชื่นชอบไฟเป็นเป็นอย่างมาก ทำให้หมู่ต่าง ๆ พากันสร้างบั้งไฟขึ้นมาเพื่อเอาใจพญาแถน ส่วนหมู่บ้านไหนที่ไม่ร่วมงานมักจะพบกับภัยแห้งแร้งแบบรุนแรงแม้แต่พยากรณ์อากาศสมัยนี้ก็ทำนายไม่ได้ ไม่นานงานบุญบั้งไฟก็เป็นที่แพร่หลายด้วยความน่าสนใจของการยิงวัตถุคล้ายจรวดขึ้นไปบนท้องฟ้า ทำให้ผู้คนชื่นชอบเป็นอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มผู้ชาย ภาพต่าง ๆ กระแพร่กระจายไปทั่วจนเกิดเป็นกระแสให้นักท่องเที่ยวเข้ามาร่วมงานมากขึ้น อีกทั้งยังได้การสนับสนุนการท่องเที่ยวจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในปี 2523 ทำให้เป็นที่รู้จักทั่วทั้งประเทศไทย และระดับโลก
ใน 9 อำเภอจะมีช่างฝีมือมากมายที่เชี่ยวชาญในการทำบั้งไฟ รวมถึงช่างฝึกหัดที่ทำออกมาแข่งกันในงานเล็ก ๆ โดยเมื่อถึงเวลาก็จะนำบั้งไฟมารวมกันเพื่อดูว่าใครจะอยู่บนฟ้าได้นานกว่ากันจึงถือเป็นผู้ชนะ ในขณะที่บางจังหวัดอย่างนครสวรรค์ก็มีประเพณีเป็นของตัวเอง เพราะประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดล้วนเป็นชาวอีสานที่ย้ายไปตั้งถิ่นฐานทำเกษตรกันตั้งแต่สมัยโบราณ ดังนั้นจึงต้องบูชาพญาแถนเพื่อให้ฝนตกตามฤดูเช่นเดียวกับในจังหวัดยโสธร ทำให้ผู้คนในจังหวัดและใกล้เคียงต่างพากันมาร่วมงานกันเต็มไปหมด นอกจากนี้ก้ยังมีพื้นที่อื่น ๆ ในภาคเหนือมที่นิยมเล่นบั้งไฟกันไม่น้อย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กวัยรุ่น แต่ด้วยความที่มันมีดินปืนเป็นส่วนประกอบหลักทำให้มีความอันตรายหากไม่ได้รับการสร้าง และดูแลอย่างถูกต้อง ผู้คนส่วนใหญ่จึงไม่ควรที่จะอยู่ใกล้กับบั้งไฟเกินไปโดยไม่จำเป็น เพราะบ่อยครั้งที่มันมีข่าวระเบิดกันตูมตามเลยก็มี