ถ้าพูดถึงเรื่อง ‘การสัก’ ในแต่ล่ะประเทศก็มีรูปแบบและเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป บางประเทศสักเพื่อความสวยงาม , เพื่อระลึกถึงคนที่ตนรัก หรือ เพื่อเป็นสิ่งบ่งบอกว่าได้ก้าวพ้นวัยผู้ใหญ่มาแล้ว โดยการสักในประเทศไทยในสมัยโบราณนิยมสักยันต์เป็นอักขระในรูปแบบต่างๆพร้อมประกอบพิธีกรรมซึ่งช่วยในเรื่องของเวทมนต์คาถาเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งทางจิตใจ รวมทั้งความต้องการในการอยู่ยงคงกระพัน , หนังเหนียว , แคล้วคลาดจากอันตรายต่างๆ ในสมัยโบราณการสักยันต์จะสักให้เฉพาะชายฉกรรจ์เท่านั้น ในขณะที่ทำการสักจะมีการผสมความเชื่อรวมทั้งพิธีกรรมหลายอย่าง เข้าไว้ด้วยกัน เช่น ต้องมีการทำพิธีไหว้ครู , การร่ายคาถาอาคม อาจารย์ผู้ลงมือแต่ละคนจะเป็นผู้มีวิชา มีกฎอย่างเข้มงวด อีกทั้งยังมีรูปแบบของลวดลายเป็นของตนเอง ส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์ในวรรณคดี , อักษรขอมโบราณ และเลขยันต์ โดยการสักอาจใช้ลายทั้ง 3 ประเภทผสมกัน
การสักในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ปรากฏมาตั้งแต่สมัยใดยังไม่มีความชัดเจน โดยการสักยันต์เพื่อให้อยู่ยงคงกระพัน หรือแคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆนั้น มีมานานแล้วจากจากปรากฎในวรรณคดีโบราณเรื่องขุนช้างขุนแผนไทยเรื่องอื่นๆ อย่างไรก็ตามในสมัยก่อนรวมทั้งวรรณกรรมการสักมักถูกมองว่าเป็นเรื่องไม่ดี ถูกมองไปในทางลบ แต่ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้ได้รับการยอมรับมากขึ้น เพราะเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล และรสนิยมส่วนตัว อีกทั้งก็กลายมาเป็นเรื่องเพื่อความมั่งคั่งร่ำรวย ดึงดูดโชคลาภ โชคดี ผู้คนเห็นแล้วรู้สึกเกิดความเมตตา มากขึ้น เนื่องจากสมัยนี้เป็นยุคแห่งการทำมาหากิน พัฒนาเศรษฐกิจ ไม่ใช่เรื่องของการรบราฆ่าฟันเฉกเช่นในสมัยก่อน
การสักคือเพื่อหวังผลทางไสยศาสตร์ จึงเป็นต้องลงมือโดยครูบาอาจารย์ที่มีวิชาอาคมศักดิ์สิทธิ์เก่งกล้าโดยเฉพาะเท่านั้น โดยฆราวาสหรือบุคคลธรรมดาที่ปราศจากวิชาความรู้ทางด้านนี้ ก็จะไม่ได้รับการยอมรับ ทำให้ ครูส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุ หรือเกจิอาจารย์ชื่อดัง ที่ได้รับการยอมรับนับถือจากบุคคลทั่วไป มีลูกสิทธ์ติดตามเป็นจำนวนมาก รวมทั้งความศักดิ์สิทธิ์ของผลลัพธ์ก็มักจะได้รับการทดสอบจนเป็นที่ประจักษ์มาแล้ว
จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์ชื่อดังท่านหนึ่ง ท่านกล่าวว่าปัจจุบันอาจารย์สักที่ลงคาถาอาคมจนบังเกิดอานุภาพดังคำร่ำลือมีไม่เกิน 10 สำนักในเมืองไทย นอกจากนี้จากผลการศึกษาระบุออกมาว่า ผู้ส่วนใหญ่มักเป็นผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป สั่งสมประสบการณ์มามากกว่า 20 ปี เช่นเดียวกับผู้ที่มารับการสักส่วนมากจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็มีแต่เป็นส่วนน้อย