เที่ยวงานประเพณีบั้งไฟที่ตื่นตาตื่นใจ

ประเพณีบั้งไฟเป็นอะไรที่น่าสนใจไม่แพ้กับการลอยโคม และประเพณีอื่น ๆ ของไทย  แต่ถ้าจะไปชมแบบของแท้ต้องไปที่งานบุญบั้งไฟของเมืองยโสธรเท่านั้น โดยในปีนี้จะจัดขึ้นในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ในงานจะมีการนำบั้งไฟของทั้ง 9 อำเภอมาร่วมแข่งขันกันภายในงาน เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเป็นศิลปะแบบไทยที่สืบทอดจากวัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้ยังมีบั้งโฟโบราณมาจัดแสดงให้นักท่องเที่ยวได้มาถ่ายรูปกันเก็บไว้เป็นที่ระรึก ตลอดจนการแสดง แสง สี เสียงต่าง ๆ โดยในงานนี้ผู้ชนะจะได้รางวัลกว่า 50,000 บาท พร้อมกับถ้วยพระราชทานจาก ร.10 แต่เดิมนั้นประเพณีบั้งไฟสืบทอดมาจากคนในสมัยโบราณ เป็นที่นิยมกันในแถบอีสานบ้านเรามักจะจัดพร้อมกับงานบุญ เพื่อบูชาพญาแถนที่คอยดูแลให้ฝนตกตามฤดู แต่ด้วยพญาแถนมีความชื่นชอบไฟเป็นเป็นอย่างมาก ทำให้หมู่ต่าง ๆ พากันสร้างบั้งไฟขึ้นมาเพื่อเอาใจพญาแถน ส่วนหมู่บ้านไหนที่ไม่ร่วมงานมักจะพบกับภัยแห้งแร้งแบบรุนแรงแม้แต่พยากรณ์อากาศสมัยนี้ก็ทำนายไม่ได้ ไม่นานงานบุญบั้งไฟก็เป็นที่แพร่หลายด้วยความน่าสนใจของการยิงวัตถุคล้ายจรวดขึ้นไปบนท้องฟ้า ทำให้ผู้คนชื่นชอบเป็นอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มผู้ชาย ภาพต่าง ๆ กระแพร่กระจายไปทั่วจนเกิดเป็นกระแสให้นักท่องเที่ยวเข้ามาร่วมงานมากขึ้น อีกทั้งยังได้การสนับสนุนการท่องเที่ยวจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในปี 2523 ทำให้เป็นที่รู้จักทั่วทั้งประเทศไทย และระดับโลก ใน Read more

สุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ส่องเทศกาลงานช้างสุรินทร์ในประเทศไทย

สุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีความโดดเด่นในเรื่องของการเลี้ยงช้าง , การทอผ้าไหม และข้าวหอมมะลิสุรินทร์ โดยงานช้างสุรินทร์ เป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มีจุดประสงค์ในการเผยแพร่อัตลักษณ์ความเป็นสุรินทร์ถิ่นเมืองช้าง รวมทั้งให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์วิถีชีวิตคนเลี้ยงช้างซึ่งสืบทอดต่อกันมานับร้อยปี ภายในงานเทศกาลมีกิจกรรมอันสุดแสนอลังการ และน่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง เช่น การต้อนรับช้างกว่า 300 เชือก , ขบวนแห่รถอาหารช้าง , บุฟเฟ่ต์อาหารช้างขนาดใหญ่ที่สุดในโลก รวมทั้งการแสดงอันสุดอลังการ คุณจะได้ชมการเลี้ยงอาหารช้าง ซึ่งมีโต๊ะเลี้ยงอาหารยาวกว่า 600 เมตร เต็มไปด้วยผลไม้นานาชนิด ทั้ง กล้วย , อ้อย รวมทั้งผลไม้อื่นๆอีกมากมาย มากกว่า 50 ตัน กับขบวนช้างจำนวน 300 เชือก นักท่องเที่ยวสามารถร่วมให้อาหารและนั่งบนหลังช้างชมเมือง ได้ตั้งแต่สถานีรถไฟสุรินทร์ อีกทั้งยังมีการแสดงอันสุดยิ่งใหญ่ตระการ ซึ่งประกอบไปด้วยศิลปวัฒนธรรม Read more

พาชมเทศกาลเลี้ยงโต๊ะจีนลิงที่จังหวัดลพบุรี

พาชมเทศกาลเลี้ยงโต๊ะจีนลิงที่จังหวัดลพบุรี

เทศกาลเลี้ยงโต๊ะจีนลิง 1 ใน 10 ของเทศกาลอันมีความแปลกประหลาดที่สุดในโลก ซึ่งเป็นเทศกาลอันโด่งดังที่สำคัญประจำจังหวัดลพบุรี เทศกาลเลี้ยงโต๊ะจีนลิงของจังหวัดลพบุรี เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2532 นับตั้งแต่นั้นมามันก็สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดลพบุรีจนโด่งดังไปทั่วโลก จนกระทั่งถูกจัดเข้าไปในงานประจำปีของจังหวัด โดยงานอันสุดแปลกนี้เริ่มขึ้นจากการร่วมแรงกาย , แรงความความคิดของนายอาทิตย์ ทวีคูณ ซึ่งเสนอต่อ นายยงยุทธ กิจวัฒนานุสนธิ์ ประธานบริษัทแห่ง Lopburi Inn Group. พร้อมดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยลิงตรงศาลพระกาฬ , พระปรางค์สามยอด จะแบ่งพวกกันกับลิงบริเวณตึก ความเป็นอยู่ของลิงศาลพระกาฬ ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี อิ่มแปล้มีเนื้อตัวอวบอ้วน เพราะผู้คนที่มากราบไหว้สักการะศาลพระกาฬซื้ออาหารให้กินตลอดเวลา ในขณะที่ลิงพระปรางค์สามยอดกับลิงตึกซึ่งมีอยู่ประมาณ 3,000 ตัว มีความเป็นอยู่ค่อนข้างลำบาก บางมื้อก็อด มีร่างกายผ่ายผอม ในการจัดงานเทศกาลนี้ในทุกๆปี ก็เพื่อให้ลิงในบริเวณ Read more

สุดตื่นเต้นไปร่วมเทศกาลกินเจประจำปีที่ ภูเก็ต

สุดตื่นเต้นไปร่วมเทศกาลกินเจประจำปีที่ ภูเก็ต

เทศกาลกินเจเป็นเทศกาลที่คนไทยเชื้อสายจีนหรือแม้แต่คนไทยบางคนเองปฏิบัติเป็นประจำทุกๆ ปีนั่นคือการละเว้นการทานเนื้อสัตว์และผักฉุนกันมาตั้งแต่อดีต ในทุกๆ ปีเทศกาลกินเจที่ว่านี้จะเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ไปจนถึงวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะตรงกับเดือนตุลาคม ช่วงเวลาดังกล่าวคนไทยจะเข้าใจดีว่าเป็นช่วงเวลาของ “เทศกาลกินเจ” โดยเราจะเห็นธงสีเหลืองมีภาษาจีนเขียนกำกับเอาไว้เต็มไปหมด ซึ่งถ้าพูดถึงเทศกาลกินเจแล้วภูเก็ตถือเป็นอีกเมืองหนึ่งที่เรียกได้ว่าคึกคักสุดๆ ไม่แพ้ที่อื่นของประเทศและยังเป็นเมืองที่มีเรื่องราวว่ากันว่าเป็นจุดกำเนิดของการกินเจในประเทศไทยด้วย ความเป็นมาของการกินเจประเทศไทย ความเชื่อทีว่าคนภูเก็ตคือกลุ่มคนแรกๆ ในประเทศไทยที่กินเจนั่นเพราะตามตำนานเล่าว่ามีคณะงิ้วจากเมืองจีนมาเปิดการแสดงอยู่ที่กะทู้ จังหวะนั้นกำลังมีโรคระบาดเกิดขึ้นพอดีคณะงิ้วจึงได้จัดการกินเจขึ้นพร้อมกับสร้างศาลเจ้าจากนั้นโรคระบาดดังกล่าวก็หายไปส่งผลให้ชาวบ้านบริเวณดังกล่าวเกิดความเลื่อมใสและปฏิบัติสืบทอดตามกันมาด้วยความศรัทธาที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาวบ้านกะทู้อยากให้มีพิธีกินเจอย่างสมบูรณ์แบบเหมือนกับพิธีในมณฑลกังไส ทำให้พวกเขาส่งตัวแทนไปเอาควันธูปกลับมาด้วยความตั้งมั่นอันแรงกล้าเนื่องจากพิธีนำควันธูปกลับมาต้องมีการจุดธูปต่อกันห้ามให้ดับ ส่งผลให้ศาลเจ้ากะทู้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งเทศกาลกินเจในภูเก็ตเรื่อยมา แต่ละปีเมื่อถึงช่วงเวลาเทศกาลกินเจเมืองภูเก็ตจะคลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่เลื่อมใสศรัทธาจำนวนมากทำให้กลายเป็นงานที่มีความคึกคักและน่าตื่นเต้นสุดๆ หากใครที่คิดจะเดินทางไปยังภูเก็ตเพื่อร่วมเทศกาลกินเจแล้วต้องบอกเลยว่าประทับใจแน่นอนไม่ว่าจะเป็นแรงศรัทธาของผู้คน การแสดง การละเล่น พิธีกรรมต่างๆ ถือว่าเป็นเทศกาลกินเจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ สำหรับการกินเจนี้เป็นช่วงเวลาที่คนให้ความศรัทธาจะงดทานเนื้อสัตว์ทุกชนิด วัตถุดิบต่างๆ ที่ได้จากสัตว์หรือสิ่งที่มีส่วนผสมของสัตว์ เช่น นม, ไข่, Read more

ไปร่วมงานงานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ที่จังหวัดเลย

ไปร่วมงานงานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ที่จังหวัดเลย

การละเล่นผีตาโขนเป็นการละเล่นที่คนไทยทั่วไปคุ้นเคยกันอย่างดีนี่ถือเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีบุญหลวงหรือที่เรียกกันว่า งานบุญหลวง ขณะที่ชาวบ้านในละแวกนั้นอาจเรียกว่า บุญผะเหวด ตรงกับช่วงเวลาเดือน 7 จัดขึ้นที่ อ.ด่านซ้าย จ.เลย เป็นการละเล่นที่จัดขึ้นประจำทุกๆ ปี มีความเกี่ยวโยงกับ งานบุญพระเวสหรืองานเทศน์มหาชาติประจำปีกับพระธาตุศรีสองรัก ซึ่งถือว่าเป็นปูชนียวัตถุที่ชาวบ้าน อ.ด่านซ้ายให้ความศรัทธาอย่างมาก ร่วมงานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน เมืองเลย งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ปกติแล้วจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมิถุนายนไม่ก็ต้นเดือนกรกฎาคมในทุกๆ ปี ประกอบไปด้วย 10 ตำบล 97 หมู่บ้าน ภายในขบวนดังกล่าวจะมีผีตาโขนมากกว่า 1,000 – 1,500 ตัวร่วมเดินด้วย งานประเพณีบุญหลวงจะจัดขึ้นที่วัดโพนชัย และบริเวณที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย จ.เลย ว่ากันว่าการแห่ผีตาโขนที่เราเห็นกันเป็นประจำทุกปีนี้เกิดขึ้นครั้งแรกตอนที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะทำการเดินทางออกจากป่าเข้ามายังเมือง เหล่าบรรดาผีทั้งหลายและสัตว์อีกมากมายต่างก็อาลัยรักอย่างมากจึงแห่แหนแฝงตัวมากับบรรดาชาวบ้านเพื่อส่งทั้งสองพระองค์กลับมายังเมือง คำว่า “ผีตามคน” เพี้ยนมาเป็น “ผีตาขน” จนปัจจุบันนี้ก็เรียกกันว่า Read more

Rice milling traditions.

เที่ยวเทศกาลเข้าพรรษาประเพณีทำบุญข้าวสารแห้ง

ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษานี้ ผมเชื่อว่าหลายคนคงอยากจะกลับบ้านต่างจังหวัดเพื่อจะไปพบครอบครัวและหาทำบุญที่วัดกัน แต่สำหรับคนที่บ้านอยู่กรุงเทพก็อาจจะทำบุญถวายเทียนแถวในกรุงเทพก็พอ แต่ผมมีครอบที่จะต้องกลับไปหาที่ต่างจังหวัดครับ ก่อนวันหยุดผมได้เตรียมตัวหาร้านซื้อของเพื่อไปทำบุญที่บ้านด้วย โดยซื้อเทียนพรรษาเล่มใหญ่มา 3 เล่ม ซึ่งผมจะเอาไปให้พ่อกับแม่ไปถวายพระที่วัดกัน ผมได้ไปโลตัสและซื้อ ข้าวสาร น้ำตาล น้ำปลา มาม่า ปลากระป๋อง ผมได้เตรียมของไว้ขึ้นบนรถทั้งหมด จากนั้นผมก็ได้ออกมาเดินทางมาประมาณตี 3 กว่าผมจะไปที่จังหวัดสกลนคร ซึ่งใช้เวลาเดินทางไม่น้อยเหมือนกันซึ่งมีระยะทางหลายร้อยกิโลมาก ผมได้แวะพักชมวิวบ้างอะไรบ้างตลอดทางที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว จนในที่สุดผมก็ถึงที่หมาย ทันทีที่ผมได้ลงรถผมก็รีบเข้าไปกอดพ่อกับแม่ทันที ผมไม่ได้รู้สึกมีความสุขแบบนี้มาตั้งนานแล้ว ผมได้ช่วยแม่ทำกับข้าวตอนเย็นและนั่งกินอย่างอร่อย เมื่อกินข้าวกันเสร็จแล้วผมและแฟนผมก็ได้ช่วยกันกอกข้าวสารอาหารแห้งต่างๆ พอรุ่งเช้าเราก็ตื่นแต่เช้ากันเพื่อไปคอยใส่บาตรอาหารแห่งให้พระจำนวน 100 รูป ซึ่งมีคนกลับตจว.แบบผมเช่นกัน คนแน่นมากตอนนั้น ผมใช้เวลาถึง 7 โมงเช้า ผมได้เข้าที่บ้านและเทียนพรรษาออกเพื่อไปถวายที่วัดกัน ก่อนไปท้องก็เริ่มร้องกันแล้วก็ขอหาอะไรกินก่อนจะไปอิ่มบุญกันวันนี้ ผมชอบบรรยากาศตอนเช้าของที่นี่เป็นอย่างมาก เพราะมีหมอกหนาลงที่สวยงาม ยิ่งถ้าไปหน้าหนาวด้วยแล้วฟินเลยครับ อีกวันหนึ่งผมก็เดินทางกลับบ้านกรุงเทพเลยครับ Read more